วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โควากิว - Japanese Black Cattle

โควากิว - Japanese Black Cattle

มีต้นกำเนิดมาจากโคที่ใช้งานในด้านการเกษตร คัดเลือกให้มีเซลล์ไขมัน
ในกล้ามเนื้อ (marbling) มาก ซึ่งเป็นแหล่งที่พร้อมจะให้พลังงาน

โควากิว - Japanese Black Cattle

ดร.สรรเพชญ โสภณ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
          วากิว หมายถึง โคเนื้อสายญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย Japanese Black, Japanese Brow, Japanese Poll และ Japanese Shorthorn ซึ่งประชากรโคเนื้อกว่า 85% เป็น Japanese Black ประมาณ 10 % เป็น Japanese Brow และ ประมาณ 3% เป็น Japanese Shorthorn ส่วนJapanese Poll มีน้อยมาก เพียง 0.1% ดังนั้นเพื่อพูดถึงวากิว แล้วโดยทั่วไปจะหมายถึง Japanese Black
marbled_wagy.jpgwagyu-beef-highly-marbeled.jpg
จุดกำเนิดพันธุ์
          “วากิว” เป็นโคที่มีต้นกำเนิดมาจากโคที่ใช้งานในด้านการเกษตร ดังนั้นจึงถูกคัดเลือกให้สรีระที่มีความทนทาน การคัดเลือกนี้เพื่อต้องการให้สัตว์นี้มีเซลล์ไขมันในกล้ามเนื้อ (marbling) มากซึ่งเป็นแหล่งที่พร้อมจะให้พลังงาน ในปลายศตวรรษที่ 18 จึงได้ปรับปรุงพันธุ์ในครั้งแรก โดยนำเข้าพ่อพันธุ์ Shorthorn และ Devon เพื่อนำมาปรับปรุงในด้านลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 2-3 ลักษณะ ต่อมาได้มีการนำพันธุ์โคเข้ามาอีก โดยรัฐบาล จังหวัด และบริษัท เช่น พันธุ์BrownSwiss, Simmental, Ayrshine, Aburdeen Angus และโคเกาหลี ซึ่งถูกนำไปใช้ในแต่ละจังหวัดหรือในแต่ละท้องถิ่นต่างๆกัน ทำให้พันธุกรรมของโคยุโรปกระจายอยู่ในโคญี่ปุ่นแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และการผสมพันธุ์ก็อยู่ในกลุ่มประชากรในพื้นที่เดียวกัน วากิวจึงถูกคัดเลือกามาจากโคพื้นเมืองที่มีการผสมข้ามกับโคสายพันธุ์ยุโรป และได้เริ่มมีการคัดเลือกสายพันธุ์เฉพาะพื้นที่ ในช่วงทศวรรษ 1910 ในปี 1919 รัฐบาลได้ให้เริ่มการปรับปรุงพันธุ์โคญี่ปุ่น โดยเริ่มการคัดเลือกพันธุ์ และจดทะเบียนโค โดยพัฒนาพันธุ์ตามโปรแกรมการพัฒนาโคเนื้อสมัยใหม่ที่เป็นสายเลือดชิด ซึ่งเริ่มในปี 1950 โดยใช้โคที่มีอยู่เดิมในพื้นที่นั้นๆ และได้เริ่มมีการทดสอบลักษณะของลูก แต่การทดสอบลักษณะของลูกที่ทำในระดับประเทศ เริ่มในปี 1968 โดยมีการบันทึกผลการทดสอบลงในทะเบียนประวัติด้วย แต่การใช้ Breeding Value Evaluation เริ่มในปี 1990 และได้ดำเนินการพัฒนาพันธุ์โคอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ โดย Wagyu Registry Association ดังนั้น วากิวจึงมีลักษณะรูปร่างที่มีความแปรปรวนมากตามโคสายพันธุ์ยุโรปที่นำเข้ามาผสม สายพันธุ์หลักของวากิว มีสีดำ ถูกจำแนกออกไปตามถิ่นกำเนิดตามภูมิภาคของญี่ปุ่น ได้แก่
1. สายพันธุ์ ทาจิริ หรือ ทาจิมา (Tajri or Tajima)
          มีแหล่งกำเนิดจากโคที่ใช้ลากล้อเลื่อนและไถนา ดังนั้นจึงมีลักษณะที่มีการพัฒนาของส่วนของขาหน้าใหญ่และส่วนขาหลังพัฒนาน้อยกว่า โดยทั่วไปจะมีโครงร่างเล็กและโตช้ากว่าสายพันธุ์อื่น แต่ผลิตเนื้อที่มีคุณภาพดีกว่ามาก มีสันขาขนาดใหญ่และไขมันแทรก (Marbling) สูงสุด ดังนั้นจึงมีเป้าหมายเพื่อใช้ในการผลิตโคลูกผสม ช่วงแรกสำหรับการผลิตเนื้อ สายพันธุ์ทาจิมานี้โดยทั่วไปแล้วจัดว่าเป็นสายพันธุ์ที่สามารถผลิตเนื้อคุณภาพที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น
2. สายพันธุ์ฟูจิโยชิ หรือ ชิมาเน (Tottori or Shimane)
          มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดโอกายามา (Okayama) มีโครงสร้างขนาดกลาง อัตราการเจริญเติบโตปานกลาง และเนื้อคุณภาพดี
3. สายพันธุ์ตอตโทริ หรือ เคดากะ (Tottori or Kedaka)
          มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดตอตโตริ (Tottori) ต้นกำเนิดจากโคที่ใช้ในไร่นาและอุตสาหกรรมธัญพืช ดังนั้นจึงมีโครงร่างขนาดใหญ่มีความทนทานและแข็งแรง โดยเฉพาะส่วนหลัง มีอัตราการเจริญเติบโตดี แต่คุณภาพเนื้อยังมีความแปรปรวนอยู่บ้าง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ให้น้ำนมดี

pedigree.jpg
          การผลิตเนื้อคุณภาพสูง (Fullblood meat production) จะใช้ทั้งสามสายพันธุ์นี้ร่วมกัน ส่วนสายพันธุ์ โควาจิวที่มีสีน้ำตาล คือสายพันธุ์โคชิ (Kochi) และคูมาโมโต (Kumamoto) ได้รับอิทธิพลมาจากโคเกาหลีและ โคพันธุ์ยุโรปโดยเฉพาะพันธุ์ชิมเมนทอล (Simmental) ดังนั้น การใช้วากิวสำหรับทำโคลูกผสม ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องเข้าใจลักษณะของแต่ละสายพันธุ์เพื่อที่จะนำไปใช้ผลิตเนื้อวาจิวคุณภาพสูง
          การผลิตวากิวในญี่ปุ่นจะถูกดูแลอย่างใกล้ชิด และการทดสอบสายพันธุ์ ก็ยังดำเนินอยู่พันธุกรรมที่ได้รับการทดสอบว่าดีที่สุดแล้วจะเก็บไว้สำหรับปรับปรุงพันธุ์ต่อไปซึ่งปัจจุบันทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้สั่งห้ามการส่งออกวากิวแล้วโดยถือว่าเป็นสมบัติของชาติ อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1976 มีพ่อพันธุ์วากิว 4 ตัว ถูกส่งไปยังอเมริกาและได้รับการผสมสายเลือดกับฝูงแม่โคในอเมริกา และเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการนำเข้าวากิวเพศเมียจากญี่ปุ่นมายังออสเตรเลีย โดยผ่านทางสหรัฐอเมริกา
tajima_gc.jpg
จุดเด่นของโควากิว
     ซาก
          - มีไขมันแทรกสูง
          - ไขมันมีองค์ประกอบที่นุ่ม โดยมีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวสูง มีรสชาติดี
          - เนื้อละเอียดกว่า
          - ไม่มีไขมันหุ้มสันมากเกินไป
          - หน้าตัดเนื้อสันใหญ่
          - ผลผลิตสูง
     การผลิต
          - คลอดง่าย
          - ความสมบูรณ์พันธุ์สูง
          - เชื่อง
          - ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้กว้าง
          - เพศเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เร็ว
son_of_fukutsuru.jpg
chuck roll.jpg   striploin.jpg
tenderloin.jpg   top sirloin.jpg
          การผลิตโคเนื้อญี่ปุ่นจากวากิว ส่วนใหญ่จะเป็น Japannese Black ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ Kobe beef และ Matsusaka beef ซึ่งเป็นการผลิตโคเนื้อระบบการขุนที่เฉพาะเจาะจง ที่ทำให้รู้จักกันทั่วโลก โดยลูกวากิวจะลูกเลี้ยงดูอย่างดี ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 8-10 เดือน น้ำหนักประมาณ 290 กก. แล้วจะนำออกขายในตลาดโดยระบบประมูลให้แกผู้ที่ต้อกการนำไปขุนต่อ ในช่วงขุนจะใช้เวลาอีกประมาณ 20 เดือน โดยการขุนจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรก จะเร่งให้โตเร็วจนอายุได้ 2 ปี จึงขุนให้ช้าลง แต่เกิดไขมันแทรกสูง ได้น้ำหนักสุดท้ายประมาณ 680 กก. ก็จะส่งโรงฆ่า ราคาซากขึ้นอยู่กับคุณภาพ โดยมีระดับไขมันแทรกและสีของเนื้อเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ และการซื้อขายซากก็จะใช้ระบบประมูลเช่นกัน โดยเกรดคุณภาพสูงสุดคือ A5 ฟาร์มขุนวัววากิวโดยเฉลี่ยของขนาดฟาร์มคือ 37.4 ตัว แต่โคเนื้อในตลาดส่วนใหญ่จะได้จากลูกโคนมเพศผู้ (ซึ่งปัจจุบันนิยมผสมเทียมโคนมด้วยน้ำเชื้อวากิว) ลูกโคนมเพศผู้จะขายออกจากฟาร์มเมื่ออายุ 1 สัปดาห์ ให้แก่ผู้เลี้ยงลูกโค เมื่อเป็นโคหย่านมแล้วก็ขายออกไปให้กับผู้ที่จะนำไปขุนเมื่ออายุ 5-6 เดือน ที่น้ำหนักประมาณ 280 กก. ลูกโคหย่านมก็จะถูกขุนจนได้น้ำหนักสุดท้าย ประมาณ 750 กก. ที่อายุประมาณ 16 เดือน จึงจะส่งโรงฆ่า ฟาร์มขุนลูกโคนมจะมีขนาดโดยเฉลี่ย 120 ตัว
inbarn2.jpginbarn1.jpg
ความนิยมของการเลี้ยงโคพันธุ์วากิวทั่วโลก
          ในปัจจุบันโคพันธุ์วากิวได้รับความสนใจในการผลิตมากขึ้นในกลุ่มผู้ผลิตเนื้อที่มีเป้าหมายทางการตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นหรือคนญี่ปุ่นที่พัฒนาคุณภาพเนื้อให้มีไขมันแทรกสูงขึ้น เพราะเนื้อวากิวจะขายได้ราคาสูงกว่าเนื้อโคอื่นๆ โดยใช้น้ำเชื้อวากิวผสมกับโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรปหรือผสมกับโคนม ประเทศที่นิยมในพันธุ์วากิวมากและมีการจัดตั้งเป็นสมาคมพันธุ์วากิว ได้แก่
          ออสเตรเลีย (AustarlianWagyu Association - http://wagyu.une.edu.au/)
          สหรัฐอเมริกา (The American Wagyu Association - http://wagyu.org)
          แคนาดา (CannadianWagyu Association - http://www.cannadianwagyu.ca/)
          อาร์เจนตินา (Argentinian European Wagyu Association - http://www.wagyuargentina.com.ar/)
          บางประเทศในยุโรป (IuropeanWagyu Association - http://www.wagyu.net/)
          นิวซีแลนด์ (New Zealand Wagyu Breeders Association inc.)
Full_Blood_Wagyu_Bull_in_Chile.jpg
Full Blood Wagyu ในประเทศ ชิลี
การเลี้ยงวากิวในประเทศไทยเป็นไปได้ไหม?
          การเลี้ยงโควากิวในประเทศไทยก็สามารถทำได้ถ้ามีเป้าหมายที่ชัดเจนในเรื่องของตลาดการได้มาซึ่งพันธุกรรมโควากิวอาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ นำเข้าเอ็มบริโอโควากิว เพื่อให้ได้โควากิวพันธุ์แท้ทันทีหรือนำเข้าน้ำเชื้อโควากิว เพื่อที่จะผลิตโคลูกผสมวากิวสำหรับขุน และหรือผสมต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้เป็นพันธุ์หรือระดับสายเลือดที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย อย่างไรก็ตามควรจะได้มีการศึกษาให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจใช้อย่างกว้างขวางในด้านการจัดการของระบบการขุน เพื่อให้ได้เนื้อคุณภาพสูงและการแสดงออกของพันธุกรรมไขมันแทรกในสภาพแวดล้อมของไทย ซึ่งโควากิวก็เป็นพันธุ์โคที่น่าสนใจทั้งในแง่ของการนำพันธุกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพเนื้อ โคและเพิ่มคุณค่าในการเลี้ยงโคของเกษตรกรไทยและน่าสนใจในแง่ของการเป็นตัวอย่างในการพัฒนาสายพันธุ์โคได้ดี
wagyugenetics au.jpg 
Link ที่เกี่ยวข้องกับวัวพันธุ์วากิวและเนื้อวากิว
บทความนี้ ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ โคพันธุ์เนื้อ
ของ บ.พรายทะเลพับลิชชิ่ง จำกัด (โคบาลแมกกาซีน)
wagyushotcropped.jpg

ไม่มีความคิดเห็น: