วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จะทำอย่างไรเมื่อโคท้องอืด


โคเพื่อชีวิต ตอนที่ 37 จะทำอย่างไรเมื่อโคท้องอืด

โคที่ท้องอืดจะมีอาการกระวนกระวายมักหันหน้าไปทาง น้ำลายไหลยืด หายใจหอบถี่ บริเวณสวาปด้ายซ้ายจะโป่งพอง ต่อมาจะหายใจขัดเพราะกระเพาะส่วนที่ขยายไปกดทับกระบังลมทำให้หายใจไม่สะดวกและตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว โคที่เป็นมากจะล้มลงนอนดิ้น ถ้าช่วยไม่ทันจะตาย
     อาการท้องอืด เป็นอาการที่ไม่น่าพิสมัยทั้งในคนและโค เพราะนอกจากจะทำให้อัดน่ารำคาญแล้ว อาการท้องอืดในโคอาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้โคเสียชีวิตได้ถ้าหากดูแลรักษาไม่ทันท่วงที
     โรคท้องอืดในโคนั้น (กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ , 2547) คือสภาวะที่กระเพาะส่วนหน้าเกิดอาการผิดปกติของระบบย่อยอาหารทำให้เกิดการโป่งขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าปกติเนื่องจาก
  •        มีแก๊สที่เกิดจากการย่อยของพืชอาหารในกระเพาะมากเกินไปและถูกขับออกช้าหรือขับออกไม่หมด มักพบมากในต้นฤดูฝน สาเหตุเกิดจากกินหญ้าสดหรือพืชตระกูลถั่วเข้าไปมากทำให้มีแก๊สมากผิดปกติจนท้องป่องกาง ร่างกายขับแก็สออกไม่ทัน  
  •       กินอาหารข้นมากไปแต่ได้รับอาหารหยาบน้อย อาหารไม่ถูกย่อยทำให้กระเพาะเกิดการเป็นกรด
  •       มีวัตถุแปลกปลอมเข้าไปอุดตันหรือทิ่มแทงผนังกระเพาะ ทำให้กระเพาะไมทำงาน
     โคที่ท้องอืดจะมีอาการกระวนกระวายมักหันหน้าไปทาง น้ำลายไหลยืด หายใจหอบถี่ บริเวณสวาปด้ายซ้ายจะโป่งพอง ต่อมาจะหายใจขัดเพราะกระเพาะส่วนที่ขยายไปกดทับกระบังลมทำให้หายใจไม่สะดวกและตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว โคที่เป็นมากจะล้มลงนอนดิ้น ถ้าช่วยไม่ทันจะตาย
     การรักษาต้องช่วยเอาลมหรือแก๊สในกระเพาะออกโดยการกรอกน้ำมันพืช 2-4 ลิตร จะช่วยลดปริมารแก๊สในกระเพาะได้ หรือใช้ Troca canula  เจาะที่สีข้างด้านซ้ายบริเวณที่เป็นามเหลี่ยมใช้มือล้วงเอาอุจจาระออกให้หมดจะช่วยให้โคมีอาการดีขึ้น
     โคของน้องกิ่ง ที่อำเภอพุทไธสง  ก็ไม่น้อยหน้าเป็นโรคท้องอืดกับเขาด้วยเช่นกัน  สาเหตุนั้นมาจากพอเข้าฤดูแล้งกลัวว่าโคจะซุบผอมเลยให้กินอาหารข้นและรำมากเกินไป ผลสุดท้ายโคท้องอืด  แต่สังเกตเห็นอาการของโคได้เร็วและช่วยได้ทัน 
      วิธีการรักษาของแม่น้องกิ่งนั้นไม่ได้ใช้น้ำมันพืชหรือ Troca canula เพราะหาไม่ทัน  แต่ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในสวนรักษาอาการท้องอืดแทน เนื่องจากเห็นว่าสมุนไพรบางอย่างรักษาอาการท้องอืดในคนได้ก็น่าจะรักษาอาการท้องอืดในโคได้เช่นกัน  เมื่อคิดได้ดังนั้น  คุณแม่น้องกิ่งก็จัดการนำหัวว่านไพล หรือว่านไฟและขมิ้นมาโขกผสมกันให้ละเอียดประมาณครึ่งกิโลกรัมไปผสมกับรำหนึ่งกิโลกรัมให้โคกิน ประมาณ  3  ครั้งใน 1 วัน
       ปรากฏว่าอาการท้องอืดของโคหายเป็นปลิดทิ้ง  ถือว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องสมุนไพรดูแลรักษาสุขภาพโค ซึ่งปัจจุบันนี้การใช้สมุนไพรกับโคนั้นมีน้อย พราะวิธีคิดของผู้เลี้ยงเปลี่ยนไป ชอบความสะดวกและเห็นผลรวดเร็วและเคยชินกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน
      การใข้สมุนไพรรักษาโรคของโคจึงน่าจะเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของผู้เลี้ยงสุตว์ได้ เพราะทำให้
  •      ลดค่าใช้จ่ายของผู้เลี้ยง เพราะชาวบ้านหาได้เอง ไม่ต้องซื้อหา เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์จำนวนไม่มาก 
  •      ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย
  •      ลดการพึ่งพาต่างประเทศ เพราะประเทศไทยเป็นแหล่งสมุนไพร
  •     โรคบางอย่างใช้สารเคมีไม่ได้ผลหรือสัตว์  แต่สามารถใช้สมุนไพรรักษาได้ดื้อยา
      การรณรงค์ให้ผู้เลี้ยงโคหรือสัตว์อื่น ๆ ใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาสุขภาพโคจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง  โดยใช้ความรู้จากทางวิชาการผสมผสานกับภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น: