วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ถามหมอบุญมีหน่อยคู่นี้เท่าไหร่

ขายวัวฮินดูบราซิล แม่+ลูกตัวเมีย ที่ขอนแก่นนะครับ

สนใจโทร 081-9076508 สอบถาม หรือชมตัวจริงก่อนได้ วัวเชื่องๆ คุยรู้เรื่อง (ภาษาอิสานนะครับ) ในรูป ลูกยังเล็ก ตอนนี้ 4เดือนกว่าๆแล้ว


ถ้าเป็นเมื่อก่อนนี้ ใครมีแบบนี้ รวยตายเลยนะนั่น

โคทาจิมะ

ประวัติของโคทาจิมะ- เนื้อวัวที่แพงที่สุดในโลก!!!


โคทาจิมะเป็นโคสายพันธุ์หนึ่งของพันธุ์วางิว (Wagyu)ซึ่งมาจากคำผสม 2 คำ คือ Wa หมายถึงประเทศญี่ปุ่น และ gyu หมายถึงโค ดังนั้น Wagyu หมายถึงโคญี่ปุ่น โควางิวเป็นโคที่มีลักษณะเด่นเนื่องจากมีไขมันแทรกสูง และเป็นไขมันชนิดคุณภาพดี ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากมีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกว่าโคพันธุ์อื่น นอกจากจะปลอดภัยต่อผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นไขมันชนิดที่ไม่เป็นไข ทำให้เนื้อโควางิวมีความน่ากินสูง เนื้อโควางิว รู้จักแพร่หลายในชื่อของ Kobe-style beef
….
โควางิว ดั้งเดิมมาจากโคพื้นเมืองของญี่ปุ่น จากการทดสอบทางชีวเคมี และทางพันธุกรรม พบว่า โคพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะใกล้เคียงกับ โคยุโรปตอนเหนือ เช่น แถบกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และเป็นโคคนละกลุ่มกับทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
…….
....
ปัจจุบันโควางิวมีสายพันธุ์หลักอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ แจแปนนิซ แบลค (Japanese Black) แจแปนนิซบราวน์ (Japanese Brown) แจแปนนิซโพล (Japanese Polled) และ แจแปนนิซ ชอร์ตฮอร์น(Japanese Shorthorn)
ซึ่งกลุ่มโคสายพันธุ์หลักเหล่านี้ มักจะมีสายเลือดของโคยุโรปปะปนอยู่ด้วย เนื่องจากในอดีตไม่มีแผนการปรับปรุงพันธุ์ที่ชัดเจน ในอดีตโคพื้นเมืองในประเทศญี่ปุ่น เป็นโคที่เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีโคยุโรปเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นโดยทหารอเมริกา และโคเหล่านี้ได้ผสมข้ามกับโคพื้นเมืองญี่ปุ่น ซึ่งลูกผสมเหล่านั้นมีลักษณะดี เลี้ยงง่าย ทำให้เกิดความนิยมในการเลี้ยง แต่ในปี ค.ศ. 1910 มีการยุติการผสมข้ามระหว่างโคยุโรป และโคพื้นเมืองญี่ปุ่น เพื่ออนุรักษ์โคญี่ปุ่น โดยมีแผนการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ที่ชัดเจน แต่ก็มีโคพื้นเมืองญี่ปุ่นบางกลุ่มที่ไม่มีประวัติของการปะปนสายเลือดยุโรป เรียกว่า full blood ในกลุ่มของโคแจแปนนิซแบลค และ โคแจแปนนิซบราวน์ บางกลุ่มใช้ชื่อเมืองเรียกเป็นชื่อพันธุ์ เช่น ทาจิมะ (Tajima) ทอตตอริ (Tottori) ชิเมน(Shimane) โกจิ (Kochi) และ กูมาโมโต (Kumamoto)
……
โคทาจิมะเป็นสายพันธุ์หนึ่งของ Japanese Black ซึ่งผลิตเนื้อมีคุณภาพสูงที่สุด เนื่องจากโคสายพันธุ์ Japanese Black มีคุณภาพซากสูงกว่าสายพันธุ์ Japanese Brown  เป็นที่มาของ Kobe beef และ Matsusaka beef  ถือว่าเป็นโคที่ให้เนื้อมีคุณภาพดีที่สุดในโลก ลักษณะเนื้อมีความนุ่ม ไขมันแทรกเกรดสูง เป็นไขมันชนิดที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ Kobe beef สามารถนำมาปรุงอาหารประเภท  steak, sukiyakishabu shabusashimiteppanyaki เป็นต้น
……
.....
โคทาจิมะ เป็นโคที่เนื้อแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสันมีไขมันแทรกมาก (Marbling) ทำให้มีลายเนื้อคล้ายหินอ่อน ซึ่งลักษณะที่กล้ามเนื้อมีไขมันแทรกมาก ทำให้เนื้อมีรสชาดดี เนื้อนุ่ม ได้รับความนิยมสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อโคทาจิมะ เป็นเนื้อโคที่มีสัดส่วนของกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง ทำให้เนื้อสเต๊กไม่เป็นไข และเป็นไขมันชนิดที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค ลักษณะการมีไขมันแทรกสูง มีปัจจัยสำคัญเนื่องจากพันธุกรรม ชนิดของอาหาร อายุ และวิธีการขุน แต่สำหรับโคทาจิมะภายใต้การเลี้ยงด้วยหญ้าคุณภาพดีก็สามารถผลิตเนื้อที่มีระดับไขมันแทรกสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงด้วยอาหารหยาบในระดับสูงทำให้สัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นกรดไขมันที่มีพันธะคู่เพียง 1 ตำแหน่งหรือมากกว่าเล็กน้อย ส่วนมากจะเป็นกรดไขมันโมเลกุลเดี่ยว (monounsaturatedfatty acid) ซึ่งทำให้สามารถกำจัด ไฮโดรเจนอะตอมได้ง่าย ซึ่งในขบวนการเมตาโบลิซึมภายในร่างกายทำให้ย่อย และใช้ประโยชน์จากกรดไขมันไม่อิ่มตัวได้ดีกว่ากรดไขมันอิ่มตัว ทำให้ขบวนการเผาผลาญสมบูรณ์ ไม่มีการสะสมของไขมัน สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
โคทาจิมะส่วนใหญ่ผลิตที่ จังหวัด Hyogo เขต   Kinki เกาะออนชู (Honshu) ซึ่งมีเมือง Kobe เป็นเมืองหลวง เป็นสาเหตุให้เนื้อโคขุนคุณภาพดีของญี่ปุ่นถูกเรียกว่า Kobe Beef ซึ่งแหล่งผลิต Kobe Beef ที่ดีที่สุดคือเมืองทาจิมะ คือผลิตจากโคทาจิมะนั่นเอง
……
....
เนื้อโคโกเบ (Kobe Beef) ซึ่งเป็นเนื้อโควางิว ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของลักษณะไขมันแทรก ซึ่งเพิ่มรสชาติ และความน่ากิน เนื้อมีลักษณะนุ่ม ฉ่ำน้ำ ด้วยลักษณะเหล่านี้ ทำให้เนื้อโกเบมีราคาสูง ในประเทศสหรัฐอเมริกา การที่เนื้อโกเบมีลักษณะความน่ากินสูง เนื่องจากพันธุกรรม และ อาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติการผลิตเนื้อโกเบ ในประเทศญี่ปุ่น เกษตรกรใช้ เบียร์ และเหล้าสาเก ในการเลี้ยงโคโกเบ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสูง นอกจากนี้ เบียร์และเหล้าสาเก ทำให้โคซึม เพราะแอลกอฮอล์ ทำให้โคขุนสงบ โคไม่เครียด ซึ่งเข้าลักษณะของ animal welfareขบวนการเผาผลาญในร่างกายเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เนื้อโคที่ได้จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ เนื้อโคโกเบมีคอเลสเตอรอลต่ำ เพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวพวก omega-3 and omega-6 มากกว่าโคทั่วไป ในขณะที่ระดับของไขมันแทรกสูง ทำให้ระดับของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงขึ้นด้วย
...
....
คุณภาพเนื้อที่ได้จากการเลี้ยง Kobe beef ส่วนใหญ่จะอยู่ในเกรดยอดเยี่ยม (Prime) ซึ่งเป็นอิทธิพลของพันธุกรรม วิธีการให้อาหาร และวิธีการเลี้ยง ในสมัยก่อนการเลี้ยง Kobe beef จะใช้อาหารข้นระดับสูง ทำให้โคได้รับอาหารเพียงพอต่อการสร้างเนื้อ และไขมันแทรก นอกจากนี้มีการเสริมด้วยเบียร์ แอลกอล์ฮอล์จากเบียร์ทำให้โคมีอาการสงบ ไม่เครียด ส่วนการนวดตัว และแปรงขน เพื่อให้โคเชื่อง ซึ่งทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่าการเลี้ยง Kobe beef จะต้องมีการทุบเพื่อให้เนื้อนุ่ม ทั้งที่ความจริงคือการนวดตัว เนื้อ Kobe beef มีลักษณะฉ่ำน้ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่า Kobe beef นอกจากจะได้รับอาหารเพียงพอแล้ว สิ่งที่สำคัญคือโคไม่เครียด ตรงกับหลักการของ Animal welfare ทำให้เนื้อโคขุน Kobe beefปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะการที่สัตว์เครียดระยะหนึ่งก่อนเข้าโรงฆ่าสัตว์ สัตว์จะหลั่งสารบางตัวที่มีผลในการก่อมะเร็งต่อผู้บริโภค แต่วิธีการเลี้ยงแบบนี้ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ดังนั้นเนื้อโคขุนญี่ปุ่นที่นำเข้าประเทศไทยมีราคาสูงกิโลกรัมละ 18,000  20,000 บาท
…….
....
Matsusaka beef เป็นโคขุนญี่ปุ่นที่เลี้ยงที่เมือง Matsusaka จังหวัด Mei เขต   Kinki เกาะออนชู (Honshu) โดยมีเมือง Tsu เป็นเมืองหลวงMatsusaka beef ในอดีตผลิตจากโคสาวเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีทั้งโคเพศผู้ และเพศเมีย แต่โคเพศเมียจะได้ราคาสูงกว่า Matsusaka beef เลี้ยงบริเวณที่เงียบทำให้โคสงบ เลี้ยงด้วยหญ้าแห้งคุณภาพดีเพียงอย่างเดียว หรือเลี้ยงด้วยฟางข้าว และ กากถั่วเหลือง หรือฟางข้าว และ ข้าวสาลี ให้กินเต็มที่จนกระทั่งโคไม่อยากกิน จึงกระตุ้นความอยากกินโดยให้กินเบียร์ โคขุนเหล่านี้จะได้รับการนวดตัวด้วยแปรงฟางข้าวหลังจากพ่นด้วยเหล้า shochu และให้เดินออกกำลังกายช่วงบ่ายทุกวัน นอกจากนี้จะมีการเปิดเพลงให้ฟังด้วย ซึ่งทำให้โคขุนสงบยิ่งขึ้น ทำให้เนื้อ Matsusakaมีคุณภาพสูงมาก ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นขายกิโลกรัมละ 18,000 บาท
…….

ขอขอบคุณข้อมูลบทความและภาพประกอบจาก www.dld.go.th มา ณ ที่นี้ครับ

โควากิว - Japanese Black Cattle

โควากิว - Japanese Black Cattle

มีต้นกำเนิดมาจากโคที่ใช้งานในด้านการเกษตร คัดเลือกให้มีเซลล์ไขมัน
ในกล้ามเนื้อ (marbling) มาก ซึ่งเป็นแหล่งที่พร้อมจะให้พลังงาน

โควากิว - Japanese Black Cattle

ดร.สรรเพชญ โสภณ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
          วากิว หมายถึง โคเนื้อสายญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย Japanese Black, Japanese Brow, Japanese Poll และ Japanese Shorthorn ซึ่งประชากรโคเนื้อกว่า 85% เป็น Japanese Black ประมาณ 10 % เป็น Japanese Brow และ ประมาณ 3% เป็น Japanese Shorthorn ส่วนJapanese Poll มีน้อยมาก เพียง 0.1% ดังนั้นเพื่อพูดถึงวากิว แล้วโดยทั่วไปจะหมายถึง Japanese Black
marbled_wagy.jpgwagyu-beef-highly-marbeled.jpg
จุดกำเนิดพันธุ์
          “วากิว” เป็นโคที่มีต้นกำเนิดมาจากโคที่ใช้งานในด้านการเกษตร ดังนั้นจึงถูกคัดเลือกให้สรีระที่มีความทนทาน การคัดเลือกนี้เพื่อต้องการให้สัตว์นี้มีเซลล์ไขมันในกล้ามเนื้อ (marbling) มากซึ่งเป็นแหล่งที่พร้อมจะให้พลังงาน ในปลายศตวรรษที่ 18 จึงได้ปรับปรุงพันธุ์ในครั้งแรก โดยนำเข้าพ่อพันธุ์ Shorthorn และ Devon เพื่อนำมาปรับปรุงในด้านลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 2-3 ลักษณะ ต่อมาได้มีการนำพันธุ์โคเข้ามาอีก โดยรัฐบาล จังหวัด และบริษัท เช่น พันธุ์BrownSwiss, Simmental, Ayrshine, Aburdeen Angus และโคเกาหลี ซึ่งถูกนำไปใช้ในแต่ละจังหวัดหรือในแต่ละท้องถิ่นต่างๆกัน ทำให้พันธุกรรมของโคยุโรปกระจายอยู่ในโคญี่ปุ่นแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และการผสมพันธุ์ก็อยู่ในกลุ่มประชากรในพื้นที่เดียวกัน วากิวจึงถูกคัดเลือกามาจากโคพื้นเมืองที่มีการผสมข้ามกับโคสายพันธุ์ยุโรป และได้เริ่มมีการคัดเลือกสายพันธุ์เฉพาะพื้นที่ ในช่วงทศวรรษ 1910 ในปี 1919 รัฐบาลได้ให้เริ่มการปรับปรุงพันธุ์โคญี่ปุ่น โดยเริ่มการคัดเลือกพันธุ์ และจดทะเบียนโค โดยพัฒนาพันธุ์ตามโปรแกรมการพัฒนาโคเนื้อสมัยใหม่ที่เป็นสายเลือดชิด ซึ่งเริ่มในปี 1950 โดยใช้โคที่มีอยู่เดิมในพื้นที่นั้นๆ และได้เริ่มมีการทดสอบลักษณะของลูก แต่การทดสอบลักษณะของลูกที่ทำในระดับประเทศ เริ่มในปี 1968 โดยมีการบันทึกผลการทดสอบลงในทะเบียนประวัติด้วย แต่การใช้ Breeding Value Evaluation เริ่มในปี 1990 และได้ดำเนินการพัฒนาพันธุ์โคอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ โดย Wagyu Registry Association ดังนั้น วากิวจึงมีลักษณะรูปร่างที่มีความแปรปรวนมากตามโคสายพันธุ์ยุโรปที่นำเข้ามาผสม สายพันธุ์หลักของวากิว มีสีดำ ถูกจำแนกออกไปตามถิ่นกำเนิดตามภูมิภาคของญี่ปุ่น ได้แก่
1. สายพันธุ์ ทาจิริ หรือ ทาจิมา (Tajri or Tajima)
          มีแหล่งกำเนิดจากโคที่ใช้ลากล้อเลื่อนและไถนา ดังนั้นจึงมีลักษณะที่มีการพัฒนาของส่วนของขาหน้าใหญ่และส่วนขาหลังพัฒนาน้อยกว่า โดยทั่วไปจะมีโครงร่างเล็กและโตช้ากว่าสายพันธุ์อื่น แต่ผลิตเนื้อที่มีคุณภาพดีกว่ามาก มีสันขาขนาดใหญ่และไขมันแทรก (Marbling) สูงสุด ดังนั้นจึงมีเป้าหมายเพื่อใช้ในการผลิตโคลูกผสม ช่วงแรกสำหรับการผลิตเนื้อ สายพันธุ์ทาจิมานี้โดยทั่วไปแล้วจัดว่าเป็นสายพันธุ์ที่สามารถผลิตเนื้อคุณภาพที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น
2. สายพันธุ์ฟูจิโยชิ หรือ ชิมาเน (Tottori or Shimane)
          มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดโอกายามา (Okayama) มีโครงสร้างขนาดกลาง อัตราการเจริญเติบโตปานกลาง และเนื้อคุณภาพดี
3. สายพันธุ์ตอตโทริ หรือ เคดากะ (Tottori or Kedaka)
          มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดตอตโตริ (Tottori) ต้นกำเนิดจากโคที่ใช้ในไร่นาและอุตสาหกรรมธัญพืช ดังนั้นจึงมีโครงร่างขนาดใหญ่มีความทนทานและแข็งแรง โดยเฉพาะส่วนหลัง มีอัตราการเจริญเติบโตดี แต่คุณภาพเนื้อยังมีความแปรปรวนอยู่บ้าง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ให้น้ำนมดี

pedigree.jpg
          การผลิตเนื้อคุณภาพสูง (Fullblood meat production) จะใช้ทั้งสามสายพันธุ์นี้ร่วมกัน ส่วนสายพันธุ์ โควาจิวที่มีสีน้ำตาล คือสายพันธุ์โคชิ (Kochi) และคูมาโมโต (Kumamoto) ได้รับอิทธิพลมาจากโคเกาหลีและ โคพันธุ์ยุโรปโดยเฉพาะพันธุ์ชิมเมนทอล (Simmental) ดังนั้น การใช้วากิวสำหรับทำโคลูกผสม ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องเข้าใจลักษณะของแต่ละสายพันธุ์เพื่อที่จะนำไปใช้ผลิตเนื้อวาจิวคุณภาพสูง
          การผลิตวากิวในญี่ปุ่นจะถูกดูแลอย่างใกล้ชิด และการทดสอบสายพันธุ์ ก็ยังดำเนินอยู่พันธุกรรมที่ได้รับการทดสอบว่าดีที่สุดแล้วจะเก็บไว้สำหรับปรับปรุงพันธุ์ต่อไปซึ่งปัจจุบันทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้สั่งห้ามการส่งออกวากิวแล้วโดยถือว่าเป็นสมบัติของชาติ อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1976 มีพ่อพันธุ์วากิว 4 ตัว ถูกส่งไปยังอเมริกาและได้รับการผสมสายเลือดกับฝูงแม่โคในอเมริกา และเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการนำเข้าวากิวเพศเมียจากญี่ปุ่นมายังออสเตรเลีย โดยผ่านทางสหรัฐอเมริกา
tajima_gc.jpg
จุดเด่นของโควากิว
     ซาก
          - มีไขมันแทรกสูง
          - ไขมันมีองค์ประกอบที่นุ่ม โดยมีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวสูง มีรสชาติดี
          - เนื้อละเอียดกว่า
          - ไม่มีไขมันหุ้มสันมากเกินไป
          - หน้าตัดเนื้อสันใหญ่
          - ผลผลิตสูง
     การผลิต
          - คลอดง่าย
          - ความสมบูรณ์พันธุ์สูง
          - เชื่อง
          - ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้กว้าง
          - เพศเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เร็ว
son_of_fukutsuru.jpg
chuck roll.jpg   striploin.jpg
tenderloin.jpg   top sirloin.jpg
          การผลิตโคเนื้อญี่ปุ่นจากวากิว ส่วนใหญ่จะเป็น Japannese Black ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ Kobe beef และ Matsusaka beef ซึ่งเป็นการผลิตโคเนื้อระบบการขุนที่เฉพาะเจาะจง ที่ทำให้รู้จักกันทั่วโลก โดยลูกวากิวจะลูกเลี้ยงดูอย่างดี ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 8-10 เดือน น้ำหนักประมาณ 290 กก. แล้วจะนำออกขายในตลาดโดยระบบประมูลให้แกผู้ที่ต้อกการนำไปขุนต่อ ในช่วงขุนจะใช้เวลาอีกประมาณ 20 เดือน โดยการขุนจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรก จะเร่งให้โตเร็วจนอายุได้ 2 ปี จึงขุนให้ช้าลง แต่เกิดไขมันแทรกสูง ได้น้ำหนักสุดท้ายประมาณ 680 กก. ก็จะส่งโรงฆ่า ราคาซากขึ้นอยู่กับคุณภาพ โดยมีระดับไขมันแทรกและสีของเนื้อเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ และการซื้อขายซากก็จะใช้ระบบประมูลเช่นกัน โดยเกรดคุณภาพสูงสุดคือ A5 ฟาร์มขุนวัววากิวโดยเฉลี่ยของขนาดฟาร์มคือ 37.4 ตัว แต่โคเนื้อในตลาดส่วนใหญ่จะได้จากลูกโคนมเพศผู้ (ซึ่งปัจจุบันนิยมผสมเทียมโคนมด้วยน้ำเชื้อวากิว) ลูกโคนมเพศผู้จะขายออกจากฟาร์มเมื่ออายุ 1 สัปดาห์ ให้แก่ผู้เลี้ยงลูกโค เมื่อเป็นโคหย่านมแล้วก็ขายออกไปให้กับผู้ที่จะนำไปขุนเมื่ออายุ 5-6 เดือน ที่น้ำหนักประมาณ 280 กก. ลูกโคหย่านมก็จะถูกขุนจนได้น้ำหนักสุดท้าย ประมาณ 750 กก. ที่อายุประมาณ 16 เดือน จึงจะส่งโรงฆ่า ฟาร์มขุนลูกโคนมจะมีขนาดโดยเฉลี่ย 120 ตัว
inbarn2.jpginbarn1.jpg
ความนิยมของการเลี้ยงโคพันธุ์วากิวทั่วโลก
          ในปัจจุบันโคพันธุ์วากิวได้รับความสนใจในการผลิตมากขึ้นในกลุ่มผู้ผลิตเนื้อที่มีเป้าหมายทางการตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นหรือคนญี่ปุ่นที่พัฒนาคุณภาพเนื้อให้มีไขมันแทรกสูงขึ้น เพราะเนื้อวากิวจะขายได้ราคาสูงกว่าเนื้อโคอื่นๆ โดยใช้น้ำเชื้อวากิวผสมกับโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรปหรือผสมกับโคนม ประเทศที่นิยมในพันธุ์วากิวมากและมีการจัดตั้งเป็นสมาคมพันธุ์วากิว ได้แก่
          ออสเตรเลีย (AustarlianWagyu Association - http://wagyu.une.edu.au/)
          สหรัฐอเมริกา (The American Wagyu Association - http://wagyu.org)
          แคนาดา (CannadianWagyu Association - http://www.cannadianwagyu.ca/)
          อาร์เจนตินา (Argentinian European Wagyu Association - http://www.wagyuargentina.com.ar/)
          บางประเทศในยุโรป (IuropeanWagyu Association - http://www.wagyu.net/)
          นิวซีแลนด์ (New Zealand Wagyu Breeders Association inc.)
Full_Blood_Wagyu_Bull_in_Chile.jpg
Full Blood Wagyu ในประเทศ ชิลี
การเลี้ยงวากิวในประเทศไทยเป็นไปได้ไหม?
          การเลี้ยงโควากิวในประเทศไทยก็สามารถทำได้ถ้ามีเป้าหมายที่ชัดเจนในเรื่องของตลาดการได้มาซึ่งพันธุกรรมโควากิวอาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ นำเข้าเอ็มบริโอโควากิว เพื่อให้ได้โควากิวพันธุ์แท้ทันทีหรือนำเข้าน้ำเชื้อโควากิว เพื่อที่จะผลิตโคลูกผสมวากิวสำหรับขุน และหรือผสมต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้เป็นพันธุ์หรือระดับสายเลือดที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย อย่างไรก็ตามควรจะได้มีการศึกษาให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจใช้อย่างกว้างขวางในด้านการจัดการของระบบการขุน เพื่อให้ได้เนื้อคุณภาพสูงและการแสดงออกของพันธุกรรมไขมันแทรกในสภาพแวดล้อมของไทย ซึ่งโควากิวก็เป็นพันธุ์โคที่น่าสนใจทั้งในแง่ของการนำพันธุกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพเนื้อ โคและเพิ่มคุณค่าในการเลี้ยงโคของเกษตรกรไทยและน่าสนใจในแง่ของการเป็นตัวอย่างในการพัฒนาสายพันธุ์โคได้ดี
wagyugenetics au.jpg 
Link ที่เกี่ยวข้องกับวัวพันธุ์วากิวและเนื้อวากิว
บทความนี้ ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ โคพันธุ์เนื้อ
ของ บ.พรายทะเลพับลิชชิ่ง จำกัด (โคบาลแมกกาซีน)
wagyushotcropped.jpg

การทำแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์

การทำแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์

ในการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ กวาง ม้า ซึ่งเป็นสัตว์ต้องใช้หญ้าหรือพืชอาหารสัตว์ในการเลี้ยง ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องทำเพื่อลดต้นทุน เพราะอาหารหยาบที่หาง่าย คือ ฟางข้าว ซึ่งมีคุณภาพต่ำมีโปรตีนเพียง 2-3 % และราคาแพงฟ่อนละ 30-35 บาท น้ำหนักก็อย่ที่ 15-18 กก ต้นทุนที่ซื้อก็ 2 บาทกว่า แต่คุณภาพสู้พืชอาหารสัตว์ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง ฟางมีข้อดี หาง่าย เก็บง่าย ชาววัวนมเปรียบฟางเสมือน มาม่า ให้สัตว์กินกันตาย สัตว์ที่กินฟางอย่างเดียวจะผอม (ถ้าเป็นคนจะเป็นสิ่งดี เพราะเราหาสิ่งที่กินแล้วน้ำหนักลด ทั้งกาแฟลดน้ำหนัก และอีกสารพัดครับ) แต่ถ้าเป็นสัตว์คนเลี้ยงก็ขาดทุน สำหรับท่านที่เลี้ยงสัตว์ควร
มาพิจารณาทำแปลงหญ้า เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงของท่านครับ

พืชอาหารสัตว์แบ่งออกเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆ คือ
1. หญ้า (มีอยู่ทั่วไปเป็นหมื่นชนิด แต่เอามาเลี้ยงสัตว์ได้ไม่กี่ชนิดครับ)
2. พืชตระกูลถั่ว (เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญครับ)

การจะทำแปลงหญ้าต้นทุนหลักๆ คือค่าเตรียมดิน




ค่าเตรียมหลักๆ คือ ค่าไถบุกเบิก ไร่ละ 400-600 บาท
ค่าไถแปร หรือ บางที่เรียกไถพรวน ไร่ละ 300-400 บาท





การไถพรวน หญ้าบางชนิดต้องยกร่อง ปลูก เช่นหญ้ากินนี หญ้าเนเปีย




ต่อมาคือค่าเมล็ดหญ้า ใช้ 3-4 กก/ไร่ ราคากิโลกรัมละ 120-150 บาท
จะมีค่าใช้จ่ายค่าเมล็ดหญ้าประมาณ 600 บาท/ไร่ แต่หญ้าบางชนิดต้องใช้ ลำต้นปลูก หรือ ใช้ลำต้นมาชำก่อนปลูก
ที่สำคัญต้องมีแหล่งน้ำรดหลังตัดหญ้าครับ ใก้ลชลประทานจะดีมากครับ จะได้ไม่มีปัญหาช่วงหน้าแล้่ง ปกติหญ้าทั่วไปจะใชัเวลาตัดประมาณ 45 วันต่อครั้ง ก่อนที่จะออกดอก เป็นช่วงที่หญ้ามีคุณค่าอาหารสูงสุด หลังจากนั้นจะต้องรดน้ำ ให้ปุ๋ย เพื่อตัดใรรอบต่อไป ใน 1 ปี เราจะตัดหญ้าได้ 365 /45 = 8 รอบ




ปุ๋ยหลักที่ใช้ในการทำแปลงหญ้า คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 หรือ 21-0-0
ใช้ช่วงแรกเท่านั้นเพื่อความประหยัด ต่อมาควรใช้มูลสัตว์มาหมุนเวียนแทนการใช้ปุ๋ยจะช่วยลดต้นทุน และทำให้สภาพดินดีครับ

ส่วนรายละเอียดอื่นๆผมจะเอามาเขียนให้ทราบในภายหลังครับ
วันนี้เรามาดูชนิดของหญ้าต่างๆที่ปลูกเพื่อเลี้ยงสัตว์ในเมืองไทยกันดีกว่าครับ

>>>เริ่มจากถั่วที่ใช้เลี้ยงสัตว์ก่อนครับ ข้อดีของถั่วคือ คุณค่าอาหารสัตว์สูงกว่าหญ้า โดยเฉพาะโปรตีน ข้อเสีย ปลูกยาก แมลงชอบกินใบมากกว่าหญ้า ผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าหญ้า ทางราชการเลยแนะนำปลูกถั่วร่วมกับหญ้า เวลาตัดไปให้สัตว์กินจะได้ทั้งหญ้าและถั่ว ครับ

ต่อไปจะเน้นรูปครับ (ขอบคุณสถานีอาหารสัตว์สตูล ที่ปลูกโชว์ในงานแพะแห่งชาติ ผมได้ไปถ่ายตอนงานแพะแห่งชาติเอามาฝากเพื่อนๆครับ)


1




2


3


4.


5


6


7



>>ต่อมาเป็นหญ้าที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์

สุภาษิตโบราณ >>โคแก่ ชอบกินหญ้าออ่น<<
ถูกต้องแล้วครับ ตามหลักโภชนะศาสตร์ หญ้าออ่นมีโปรตีนสูง
ไฟเบอร์ต่ำ ย่อยง่าย ดังนั้นไม่ว่าโคแก่หรือโคหนุ่ม ย่อมชอบหญ้าอ่อนเสมอครับ ดังนั้นถ้าเอาหญ้าแก่ สังเกตง่ายๆคือ หญ้าที่ออกดอกแล้ว
จะกินยาก เหนียว คุณค่าทางอาหารต่ำ ไม่ว่าวัวหรือคนไม่ชอบอะไรที่แก่ครับ

ข้อดีของหญ้า ผลผลิตต่อไร่สูง ทนแล้งและทนน้ำขัง ได้ดีกว่าพืชตระกูลถั่ว ดูแลรักษาง่ายไม่มีแมลงรบกวน ไม่ต้องปลูกบ่อยๆ เริ่มกันที่

1







2


3


4


5


6


7


8


9


10


11


12


13


14


15


16


17


18


19


20


21


22


23


24


25


26


27


28



29


30


31


32


33


34